มุฎอเราะบะฮฺ (MUDARABAH: การร่วมลงทุน)

โพสเมื่อ : 2016-09-20 3:22 น. หมวดหมู่: Finance

การทำสัญญาตามหลักมุฎอเราะบะฮฺ (مضاربۃ) หมายถึง การทำสัญญาการร่วมทำธุรกิจหรือร่วมลงทุนระหว่าง  2 ฝ่าย ฝ่ายหนึ่งคือเจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raabul-mal:ร็อบบุลมาล) ให้ทุนแก่อีกฝ่ายหนึ่งคือผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจนั้น (Mudarib: มุฎอริบ) ที่มีความรู้ความสามารถเพื่อนำเงินทุนไปบริหารจัดการและดำเนินธุรกิจที่ไม่ขัดหลักศาสนาอิสลามหรือหลักชะรีอะห์ โดยมีข้อตกลงในการแบ่งปันผลกำไรตามสัดส่วนที่ตกลงร่วมกัน(Mutual Consent) เช่น 50:50  60:40 70:30 หรือ 80 : 20 เป็นต้น ในกรณีที่ขาดทุน เจ้าของทรัพย์หรือเงินทุนต้องยอมรับการขาดทุนในส่วนของเงินทุนฝ่ายเดียว ขณะที่ผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบหรือขาดทุน ในส่วนที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการบริหารจัดการและเสียต้นทุนของเวลาและแรงที่ลงทุนไปในการบริหารจัดการ ดังนั้นเจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raabul-mal:ร็อบบุลมาล) โดยทั่วไปมักจะต้องการสัดส่วนจากกำไรมากกว่าเพื่อมาชดเชยความเสี่ยงในกรณีที่ขาดทุน

มุฏอเราะห์บะฮฺ

1.เจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raab ul-mal: ร็อบบุลมาล) ให้ลงทุนโดยการให้เงินทุน

2.ผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญในการทำธุรกิจนั้น (Mudarib:มุฎอริบ)ลงทุนด้วยการบริหารจัดการด้วยความเชี่ยวชาญ

3.การแบ่งปันผลกำไร(Profit Sharing) ตามสัดส่วนที่ตกลงร่วมกัน (Mutual Consent) เช่น 50:50  60:40 70:30 หรือ 80 : 20 เป็นต้น ในกรณีที่ขาดทุน เจ้าของทรัพย์หรือเงินทุนต้องยอมรับการขาดทุนในส่วนของเงินทุนฝ่ายเดียว ขณะที่ผู้ประกอบการหรือผู้เชี่ยวชาญรับผิดชอบหรือขาดทุนในส่วนที่ไม่ได้รับค่าตอบแทนจากการบริหารจัดการและเสียต้นทุนของเวลาและแรงที่ลงทุนไป

ลักษณะของการทำสัญญาแบบมุฎอเราะบะฮฺ (Mudarabah)

1. เจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raab ul-mal) สามารถกำหนดเงื่อนไขให้กับผู้ประกอบการตามตกลง แต่เจ้าของทรัพย์สินหรือเงินทุน (Raab ul-mal) ไม่มีสิทธิ์ที่จะก้าวก่ายการบริหารจัดการของผู้ประกอบการ

2. การทำสัญญาแบบมุฎอเราะบะฮฺ (Mudarabah) เป็นหลักการที่เกี่ยวกับความไว้วางใจ (Amanah) ผู้ประกอบการจะต้องทำหน้าที่อย่างซื่อสัตย์สุจริต และไม่กระทบธุรกิจหรือทำโดยประมาทเลินเล่อให้เกิดความเสียหาย

ประโยชน์ของการทำสัญญาแบบมุฎอเราะบะฮฺ (Mudarabah)

1.เป็นการสนับสนุนผู้ประกอบการที่มีความสามารถหรือเชี่ยวชาญแต่ไม่มีเงินทุนเพียงพอ

2.เป็นทางเลือกสำหรับผู้มีเงินทุน แต่ไม่มีประสบการณ์ในการทำธุรกิจเพียงพอ ได้ทำการลุงทุนเพื่อต้องการเพิ่มพูนความมั่งคั่ง(wealth)

โดยอิสเรศ มะหะหมัด ผู้อำนวยการฝ่าย บริหารการลงทุนส่วนบุคคล/ บริษัท หลักทรัพย์ เคทีบี (ประเทศไทย) จำกัด

#beritamuslim #beritamuslimlife #beritamuslimlove #ข่าวสารมุสลิม #นิตยสารมุสลิม #การเงินอิสลาม

บทความล่าสุด

สิ่งที่ทำให้การวางแผนการเงินล้มเหลว

หัวใจสำคัญของการวางแผนการเงินก็คือ การรู้ว่าเรามีงบประมาณเท่าไหร่ที่จะใช้จ่ายไป...

2019-07-02 02:48
สอนลูกให้มีทักษะชีวิต

โลกดิจิตัล จะทำให้ลูกของคุณพบกับสังคมแบบตัวคนเดียวมากขึ้น โดยจะขาดการสื่อสารแบบ...

2019-07-02 02:35
เพิ่มเงินเก็บเพื่อสร้างเงินออมก้อนโต

“มีรายได้เท่าเดิม แต่จะทำยังไงให้มีเงินเก็บเพิ่มขึ้น?” เชื่อว่าใครที่เจอคำถามนี...

2019-06-01 01:53
วางแผนเกษียณอย่างสบายใจ

ไม่ว่ารูปแบบของวัยเกษียณของคุณจะเป็นแบบไหน การเตรียมพร้อมปรับตัวให้พร้อมรับวัย...

2019-04-01 07:13