ชีวประวัติ อุสตาซ สะแปอิง บาซอ

โพสเมื่อ : 2017-01-15 13:17 น. หมวดหมู่: History

อุสตาซ ชาฟีอี บิน อับดุลเราะห์มาน หรือชื่อที่บรรดาลูกศิษฐ์จะเรียกกันในชื่อ อุสตาซ ชาฟีอี ท่านเกิดเมื่อวันที่ 1 เดือน มีนาคม ปี 1936 ที่บ้าน ต้นมะขาม (ตลาฆอ เซิมบีลัน) อ.ยะรัง จ.ปัตตานี เป็นบุตรของนางไซนับ บินติ ซูหลง และนายอับดุลเราะห์มาน บิน อับดุลเลาะ เป็นครอบครัวที่มีฐานะปานกลาง

อุสตาซ ชาฟีอี ถือเป็นปูชนียะบุคคลในด้านการศึกษาที่เป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่ ปัตตานี ยะลา ลูกศิษย์ของท่านไม่เพียงแต่เป็นคนในพื้นที่ปาตานีอย่างเดียวเท่านั้นไม่ แต่จะอยู่โดยทั่วไปไม่เว้นแต่ในจังหวัดเชียงใหม่ นครศรีธรรมราช กรุงเทพมหานคร และที่อื่นๆ ท่านยังเป็นที่เคารพยกย่องในระดับภูมิภาคเอเชียในแหลมมลายูอุษาคเนย์ตลอดจนในชาติอาหรับ ท่านยังเคยได้รับเชิญเข้าร่วมประชุมในประเทศอินโดนีเซีย แต่ท่านไม่สามารถเดินทางเข้าร่วมได้ อันเนื่องมาจากเหตุผลหลายประการ

คุณพ่อของท่านเป็นปุถุชนสามัญเหมือนคนทั่วไปของสังคม อุสตาซ ชาฟีอี ได้อาศัยอยู่กับบิดามารดาอยู่สักระยะหนึ่งก่อนที่ท่านจะเดินทางไปศึกษาในดินแดนมลายูก่อนที่จะเดินทางไปศึกษาต่อที่เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอารเบีย อุสตาซ ชาฟีอี เริ่มศึกษาเรียนรู้กับครอบครัวหนึ่งที่มีความมุ่งมั่นกับหลักคำสอนของอิสลาม และท่านได้เริ่มศึกษาในโรงเรียนประถมของรัฐ ที่โรงเรียนบ้านต้นมะขามจนกระทั่งจบป.สี่

หลังจากที่จบการศึกษาขั้นพื้นฐานจากโรงเรียนปะถม อุสตาซ ชาฟีอี ได้เข้าศึกษาต่อที่โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ ที่นี่อุสตาซ ชาฟีอี เริ่มศึกษาและมีความรู้อย่างลึกซึ้งว่าความรู้นั้นคือแสงสว่างในการเปิดมุมมอง และมีโอกาสได้พบปะปฏิสัมพันธ์กับบรรดาผู้รู้ เช่น อัลมัรฮูม มูดีร ฮัจยี ฮารูน และคนอื่นๆ ณ ที่นี้เองที่ท่านเริ่มมีความสำนึกถึงภาระหน้าที่ความรับผิดชอบในฐานะบ่าว(มนุษย์)คนหนึ่งเริ่มปลุกขึ้นมาในจิตใจ

ท่านจึงศึกษาเล่าเรียนอย่างสุดความสามารถเพื่อพัฒนาตัวเอง ด้วยความฝันใฝ่ที่อยู่ข้างในยังคงเร่าร้อนยังมีอยู่ต่อเนื่อง หลายปีหลังจากนั้นอุสตาซ ชาฟีอี เริ่มฉายแววในด้านการศึกษาหาความรู้จนกระทั่งจบการศึกษาระดับอิบตีดาอีชั้นสี่

ในช่วงปี 1955-57 อุสตาซ ชาฟีอี ได้เริ่มศึกษาหาความรู้ตามสถาบันปอเนาะต่างๆ เป็นเวลา 2 ปี เพราะท่านรู้สึกไม่เพียงพอสำหรับโต๊ะครูเพียงคนเดียว

เมื่อปี 1959 อุสตาซ ชาฟีอี ยังไปศึกษาต่อที่มะอฺฮัดมูฮัมมาดี เมืองโกตาบารู รัฐกลันตัน ประเทศมาเลเซีย เป็นเวลา 5 ปี จนถึงปี 1964

จากนั้นเมื่อปี 1965 อุสตาซ ชาฟีอี มีโอกาสได้ศึกษาต่อที่เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอารเบีย ที่มหาวิทยาลัยอิสลามมาดีนะฮ์ คณะชารีอะฮ์ ที่นี่เองที่ท่านมีโอกาสเพิ่มพูนความรู้ของท่าน เพราะท่านได้ผ่านมาแล้วสองประเทศ และท่านได้ทำการเปรียบเทียบระหว่างสังคมมลายูปาตานีกับสังคมอื่นๆ ซึ่งสังคมปาตานี ณ ห้วงนั้นอยู่ในช่วงที่ขาดแคลนปัญญาชน และโอกาสเช่นนี้เองที่ได้เป็นแรงบันดาลใจให้กับท่านที่จะกลับเพื่อพัฒนาสังคมอันเป็นบ้านเกิด

หลังจากที่ท่านจบจากมหาวิทยาลัยอิสลามมาดีนะฮ์ ท่านก็เหมือนเฉกเช่นผู้รู้โดยทั่วไปที่มีความรู้สึกสำนึกรับผิดชอบต่อสังคม ที่มีหน้าที่ต้องเปลี่ยนแปลงสังคมไปสู่ทิศทางที่ดีกว่า ดั่งคำคมมลายูที่กล่าวว่า di mana bumi di pijak di situ langit dijunjung “ที่ใดเราย่ำดิน ที่นั่นเราจะแบกฟากฟ้า” ท่านยังมองว่าการที่จะพัฒนาสังคมจำเป็นที่จะต้องเริ่มจากการพัฒนาปัจเจกบุคคลด้วยการศึกษา

เมื่อ อุสตาซ ชาฟีอี ได้กลับมายังบ้านเกิดในฐานะบัณฑิตด้านอิสลาม ท่านได้อุทิศตนในฐานะผู้สอน / อุสตาซ ที่สถาบันปอเนาะดาราศาตร์อิสลามียะฮ์ หรือ โรงเรียนดารุณศาสตร์ อำเภอ สายบุรี จังหวัด ปัตตานี เป็นเวลา 2 ปี จากนั้นจึงได้ย้ายไปสอนที่โรงเรียนธรรมวิทยามูลนิธิ

อุสตาซ ชาฟีอี ได้สมรสกับนางซากีนฮ์ บินติ ฮัจยี ฮารูน หรือ ซาดีนะฮ์ ซูหลง ซึ่งเป็นบุตรสาวของโต๊ะครู ฮัจยี ฮารูน บิน มูฮัมหมัด ตาฮีร จากชีวิตคู่ของท่านได้มีบุตรทั้งหมด 9 คนด้วยกัน (ชาย 3 คน และ หญิง 6 คน)

ในฐานะบุตรเขยที่มีการศึกษาด้านศาสนาที่สูงและมีบุคลิกภาพที่ดีนี่เอง อุสตาซ ชาฟีอี ได้รับความไว้วางใจจากพ่อตาให้รับหน้าที่บริหารโรงเรียนของพ่อตาตั้งแต่ปี 1975 เป็นระยะเวลา 30 ปี จนถึงปี 2005

ตลอดระยะเวลาในการบริหารโรงเรียน อุสตาซ ชาฟีอี มีบทบาทหลายด้านในสังคม ในขณะเดียวกันท่านยังได้รับการแต่งตั้งเป็นอิหม่าม ประจำหมู่บ้านของท่านอีกด้วย และยังเป็นคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดปัตตานี บางแหล่งข้อมูลยังกล่าวด้วยว่าท่านยังดำรงตำแหนงเป็นท่านกอฏีประจำคณะกรรมการอิสลามจังหวัดปัตตานีอีกด้วย

อุสตาซ ชาฟีอี ถือเป็นโต๊ะครูอีกท่านทีมีความสามารถพิเศษและยังได้รับการยอมรับโดยบรรดาโต๊ะครูและผู้นำศาสนาคนอื่นๆ ด้วยบุคลิกที่จริงจังและหนักแน่น ที่ทำให้ท่านได้รับการยอมรับจากสังคม อุสตาซ ชาฟีอี รู้จักกันดีในฐานะผู้ที่มีความสามารถในการบรรยายปราศรัยต่อหน้าสาธารณชน โดยเฉพาะประเด็นที่เกี่ยวข้องกับศาสนาอิสลาม จนถูกกล่าวขานว่า “bila beliau berbicara yang lain diam dan mendengar” (เมื่อท่านปริปากผู้อื่นจะพากันเงียบ)

ท่านยังได้เที่ยวบรรยายและอ่านคุตบะห์ไปยังหมู่บ้านต่างๆ ด้วยจิตสำนึกที่เปี่ยมล้น ท่านมิเคยเกี่ยงหวาดกลัวใดๆ ที่จะเดินทางไปในที่ต่างๆ ที่สามารถเดินทางไปถึง ด้วยความมุทะลุที่จะเปลี่ยนแปลงสภาพสังคมสู่สภาพที่ดีกว่า วิธีการในระดับรากหญ้าถูกดำเนินการ ท่านยังต้องการปลุกปั้นทรัพยากรบุคคลที่มีหัวก้าวหน้าและหัวใจพัฒนา วิธีการเช่นนี้เองที่ท่านได้กำชับไปยังสังคม

ด้านโลกการศึกษา อุสตาซ ชาฟีอี ในฐานะผู้บริหารโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามที่ใหญ่ที่สุดในปาตานี ที่ได้กำชับบรรดาคณาจารย์ เพื่อให้ปลูกฝังบรรดาลูกศิษฐ์ให้เป็นมนุษย์ที่ดีเลิศที่มีหัวก้าวหน้าและที่มีความยำเกรงต่อพระผู้เป็นเจ้าและมีจิตใจสาธารณ เพราะด้วยความปรารถนาที่จะสร้างบุคคลที่รู้คุณต่อสังคม ตลอดระยะเวลา 30 ปี ที่ท่านบริหารมีลูกศิษย์ที่จบออกมาไม่น้อยกว่า 54,000 คน

มีจำนวนไม่น้อยผู้ที่จบจากสถาบันดังกล่าว ได้มีตำแหน่งทางสังคมอย่างมากมาย เช่น ผู้แทนราษฎร อุสตาซ ผู้นำศาสนา ผู้นำท้องถิ่น ที่มีโอกาสฉายความสามารถและมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาบ้านเกิดและสังคม มีไม่น้อยลูกศิษย์จากสถาบันดังกล่าวได้ประสบความสำเร็จในการเป็นผู้บริหารโรงเรียน พัฒนา และก่อตั้งโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาอิสลามด้วยตัวเอง เพื่อต่อยอดการเผยแพร่การศึกษาในปาตานี สิ่งนี้เป็นเพราะการที่มีแบบอย่างและอุดมการณ์ที่ได้รับ ที่ได้ซึมซับเข้าสู่จิตใจของนักเรียน นักศึกษา

บุคลิกภาพ ความสามารถพิเศษของท่านที่มีความน่าสนใจ และความบริสุทธิ์และความเสียสละ ทำให้ท่านได้รับความเคารพโดยผู้คน ด้วยเหตุนี้อุสตาซ ชาฟีอี มิได้เป็นแค่หัวหน้าครอบครัวอย่างเดียวไม่ แต่ยังได้เป็นในฐานะหัวหน้าครอบครัวของลูกศิษย์เรือนหมื่นคน ไม่เพียงแต่เป็นหัวหน้าโรงเรียนเท่านั้น แต่เป็นหัวหน้าด้านการศึกษาของสังคมโดยรวม และท่านยังไม่เพียงแต่เป็นอิหม่ามในหมู่บ้านตัวเองเท่านั้น แต่ยังได้เป็นอิหม่ามทั่งหมู่บ้านในปาตานี คุณความดีของท่านจักงอกงามตราบนานนิรันด์

แต่น่าเสียดายอย่างยิ่ง ที่บทบาทและการเสียสละของท่านที่เป็นที่ประจักษ์ ที่ได้ทำให้ทางการไทยมองด้วยสายตาที่มิดีต่อท่าน พร้อมยังได้สาดโคลนปรักปรำใส่ร้ายป้านสี และการดำเนินการที่เกินกว่าเหตุ แต่ท่านยังคงยืนหยัดบนความถูกต้อง แต่ด้วยท่าที่ที่สัจจริงและคงมั่นนี้เอง ทำให้ท่านนั้นไม่เคยคิดที่จะยอมจำนนและศิโรราบต่อความมดเท็จและความกดดันจากทางการทั้งปวง จนท่านได้ตัดสินใจเพื่อลี้ภัยออกนอกประเทศเพื่อไปยังประเทศมาเลเซีย

ในบรรดาผลงานและวิสัยทัศน์ในโลกการศึกษาของท่านที่ยังไม่บรรลุภารกิจนั่นก็คือ การยกระดับมหาวิทยาลัยเชคดาวูด อัลฟาตอนีย์ (JISDA) ที่ตอนนี้ยังคงเกิดคำถามตามมาว่าใครจะเป็นผู้สานต่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว เพื่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลที่มีคุณค่าและและยกระดับสังคมในปาตานีในภายภาคหน้า

ขอบคุณข้อมูล fb : www.facebook.com/indra.pertiwi, Wartani

แปลโดย อับดุลเลาะ วันอัฮหมัด 

บทความล่าสุด

มุสลิมกับบางลำพู

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น บางกอกได้เปลี่ยนสถานะจากเมืองหน้าด่านมาเป็นนครหลวง ดังน...

2022-12-15 11:14
เป้าหมายที่จะพัฒนาสังคมมุสลิม กับการดำรงตำแหน่งนายก ส.น.ท.

สมาคมนิสิตนักศึกษาไทยมุสลิม (ส.น.ท.) แต่เดิมมีชื่อว่า ชุมนุมนิสิตนักศึกษาไทยมุสล...

2022-12-07 10:13
บ้านปูยุดดินแดนแห่งอัลอิสลาม ep. 1

บ้านปูยุดดินแดนแห่งอัลอิสลาม ep. 1 เรียบเรียง โดย ต่วนบูกอรี โตะกูบาฮา อิหม่าม...

2020-06-05 06:38
ดารุ้ลอะมาน...บ้านแห่งความสันติ

  มัสยิดหลังนี้ก่อตั้งขึ้นโดยมุสลิมที่อพยพจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเข้...

2019-04-25 03:37