เยือนอดีต ย้อนวันวาน "บางลำพู"

โพสเมื่อ : 2016-09-23 8:19 น. หมวดหมู่: History

    ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น  บางกอกได้เปลี่ยนสถานะจากเมืองหน้าด่านมาเป็นนครหลวง ดังนั้นจึงมีมุสลิมหลากหลายเชื้อชาติเดินทางเข้ามาพำนักอาศัยในแต่ละช่วงเวลาด้วยเหตุผลที่แตกต่างกัน  ขณะเดียวกันราชการก็เปิดโอกาสให้มุสลิมกลุ่มต่างๆ เข้ามามีบทบาทในการพัฒนาประเทศ

เมื่อครั้งสร้างนครหลวงแห่งใหม่บริเวณถนนพระสุเมรุ เป็นพื้นที่ตั้งของแนวกำแพงเมือง มีการก่อสร้างขนาบตลอดแนวแม่น้ำเจ้าพระยา คูเมืองชั้นนอกรวมทั้งบริเวณคลองโอ่งอ่างและคลองบางลำพู  ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของคลองรอบกรุง ในช่วงต้นรัชกาลที่ 1 ราวปี 2329 โปรดเกล้าฯ ให้มุสลิมจากปัตตานีพำนักอยู่ในกำแพงพระนคร มุสลิมกลุ่มนี้ได้ลงหลักปักฐานปลูกเรือนพักอาศัยในย่านที่ถูกเรียกว่า “บางลำพู”

ในอดีต นักภาษาศาสตร์สันนิษฐานว่า “ ลำพู ” มาจากคำว่า “ Su-ngaiLampu ” เป็นภาษามลายูออกเสียงว่า “สุไหงลัมปู”  มีความหมายว่า คลองที่มีตะเกียง  อย่างไรก็ตาม ได้มีข้อสันนิษฐานของคำนี้ 2 ประเด็นคือ ในสมัยโบราณการเดินทางทางน้ำจะมีกระโจมไฟให้สัญญาณในการเดินทาง อีกข้อสันนิษฐานระบุว่า เป็นเพราะบริเวณนี้มีหิ่งห้อยจำนวนมากส่องแสงระยิบระยับราวกับตะเกียง ด้วยเหตุนี้สันนิษฐานดังกล่าวจึงเขียนชื่อ บางลำพู เป็น บางลำภู อยู่ระยะหนึ่ง

สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจประการหนึ่งที่นักภาษาศาสตร์สันนิษฐานคือ เนื่องจากบริเวณแห่งนี้เป็นที่อยู่อาศัยของคนมลายูปัตตานีในอดีต จึงมีทฤษฎีแนวคิดว่าการพูดหรือออกเสียงจึงควรต้องเป็นสำเนียงมลายู ขณะที่นักวิชาการอีกกลุ่มหนึ่งได้มีทฤษฎีแนวคิดว่า ชื่อบางลำพู น่าจะมาจากต้นลำพู ซึ่งเป็นต้นไม้ยืนต้นชอบขึ้นริมน้ำป่าชายเลนและขึ้นมากในบริเวณดังกล่าวและต่อมาจึงได้เขียนคำว่า บางลำภู เป็น บางลำพู

บางลำพู เป็นชุมชนเก่าแก่ มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่องจากหมู่บ้านชาวสวนในสมัยกรุงศรีอยุธยา เป็นที่อยู่อาศัยของคนหลากหลายเชื้อชาติ ทั้งไทย จีน มอญ และมุสลิมดั้งเดิม ชาวไทยอาศัยอยู่บริเวณริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชาวจีนอาศัยกระจัดกระจายเพราะชอบค้าขาย ชาวมอญอยู่บริเวณวัดชนะสงคราม ชาวมุสลิมมีมัสยิดเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจและจุดศูนย์รวมของชุมชน ที่แต่เดิมสร้างด้วยไม้ต่อมาในช่วงรัชกาลที่ 3 มัสยิดชำรุดมากจึงสร้างเป็นอาคารก่ออิฐแทน

ในสมัยรัชการที่ 3 ชาวมุสลิมย่านสุเหร่า ทำทองกันแทบทุกครัวเรือน มีครั้งหนึ่งที่ได้ร่วมใจกันนำช้างทรงทองคำประดับเพชร ทับทิม มรกต ซึ่งทำด้วยฝีมือประณีตขึ้นทูลเกล้า ฯ  ต่อมาโปรดเกล้าฯ ให้เป็นช่างทองหลวง อยู่ในกรมช่างสิบหมู่ มีหน้าที่ผลิตเครื่องทองและเครื่องราชูปโภคถวายพระมหากษัตริย์และราชวงศ์ จนได้พระราชทานบรรดาศักดิ์

        ชุมชนมุสลิม ซึ่งอาศัยอยู่มาเป็นเวลานานและขยายตัวขึ้นอย่างกระจัดกระจายเมื่อมีการตัดถนนอิทธิพลของแหล่งที่มาทางประวัติศาสตร์ยังถูกนำมาเรียกใช้เมื่อมีการตัดถนน เช่น ถนนปัตตานี ซึ่งเชื่อมต่อระหว่างถนนจักรพงษ์กับถนนสิบสามห้าง ซึ่งบริเวณนี้ชาวมุสลิมปัตตานีอาศัยอยู่หนาแน่นและฐานะดี ถนนตะนาว ซึ่งเชื่อมต่อจากถนนราชดำเนินบริเวณสี่แยกคอกวัวไปจรดที่ถนนสิบสามห้างคนที่อาศัยอยู่แถบนี้จะเป็นมุสลิมตะนาวศรี

ตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมาชุมชนมุสลิมได้เติบโตมาร่วมกับชุมชนศาสนิกต่างๆ และมีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคม เศรษฐกิจและประเทศมาโดยตลอด มีการแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมจนเป็นที่ยอมรับซึ่งกันและกัน จนเป็นสังคมพหุวัฒนธรรมที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขเสมอมา     

( เรียบเรียงโดย   berita  muslim life  )         

ที่มารูปภาพ :  photobucket.com/  sarakadee.com / bloggang.com                                                                                                                               

บทความล่าสุด

มุสลิมกับบางลำพู

ในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น บางกอกได้เปลี่ยนสถานะจากเมืองหน้าด่านมาเป็นนครหลวง ดังน...

2022-12-15 11:14
เป้าหมายที่จะพัฒนาสังคมมุสลิม กับการดำรงตำแหน่งนายก ส.น.ท.

สมาคมนิสิตนักศึกษาไทยมุสลิม (ส.น.ท.) แต่เดิมมีชื่อว่า ชุมนุมนิสิตนักศึกษาไทยมุสล...

2022-12-07 10:13
บ้านปูยุดดินแดนแห่งอัลอิสลาม ep. 1

บ้านปูยุดดินแดนแห่งอัลอิสลาม ep. 1 เรียบเรียง โดย ต่วนบูกอรี โตะกูบาฮา อิหม่าม...

2020-06-05 06:38
ดารุ้ลอะมาน...บ้านแห่งความสันติ

  มัสยิดหลังนี้ก่อตั้งขึ้นโดยมุสลิมที่อพยพจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งเข้...

2019-04-25 03:37