8 เคล็ดลับดูแลสมองสำหรับมุสลิม

โพสเมื่อ : 2018-02-27 8:20 น. หมวดหมู่: Health

ด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ผู้ทรงกรุณาปราณี ผู้ทรงเมตตาเสมอ

สำหรับอิสลามแล้วการดูแลสุขภาพร่างกายถือว่าเป็นอีกหนึ่งในหน้าที่ที่ทุกคนต้องใส่ใจ เพราะเมื่ออัลลอฺฮฺ (ซ.บ.) ได้ประทานให้เรามีชีวิตด้วยสุขภาพที่ดี เราก็ต้องดูแลให้ดีที่สุด หากเมื่อเราไม่ดูแลให้ดี บางทีพระองค์อาจจะดึงนิอฺมัต (สิ่งที่ดี) ด้วยบททดสอบในเรื่องของสุขภาพต่อไปได้ ดังนั้น Berita Muslim (เบอรีตามุสลิมนิตยสารมุสลิมออนไลน์) มองว่า อวัยวะที่สำคัญที่สุดของร่างกาย คือ “สมอง” จึงได้รวบรวมเคล็ดลับดีๆในการดูแลสมองสำหรับมุสลิมมาฝาก เผื่อสามารถนำไปใช้ได้จริง อินชาอัลลอฮฺ 

ก่อนอื่นมาทำความเข้าใจกันก่อนว่า สมองนั้นสำคัญอย่างไรบ้าง? สมองมีหน้าที่ควบคุมและสั่งการการเคลื่อนไหว, พฤติกรรม และภาวะธำรงดุล (homeostasis) เช่น การเต้นของหัวใจ, ความดันโลหิต, สมดุลของเหลวในร่างกาย และอุณหภูมิ เป็นต้น หน้าที่ของสมองยังมีเกี่ยวข้องกับการรู้ (cognition) อารมณ์ ความจำ การเรียนรู้การเคลื่อนไหว (motor learning) และความสามารถอื่นๆ ที่เกี่ยวกับการเรียนรู้

เคล็ดลับดูแลสมองสำหรับมุสลิม

1. ขอดุอาอฺต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) 

สำหรับมุสลิมแล้วต้องมีการดุอาอฺต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) อยู่เสมอ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องใดก็ตาม เพราะหากเราเพียงแค่พยายามโดยที่เราไม่ได้ดุอาอฺต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) แต่อย่างใด ก็ยากที่จะประสบความสำเร็จ ฉะนั้นการขอดุอาอฺให้พระองค์ดูแลและคุ้มครองเราเป็นสิ่งที่ดีที่มุสลิมไม่ควรมองข้าม

2. ละหมาดด้วยความคอชั๊วะอฺ (อย่างมีสมาธิ)

การละหมาดอย่างคอชั๊วะอฺ (อย่างมีสมาธิ) ถือว่าเป็นอีกหนึ่งวิธีที่สำหรับมุสลิมในการตั้งสติและสร้างสมาธิได้เป็นอย่างดี ทั้งนี้เพื่อให้สมองได้มีการผ่อนคลาย เพราะสิ่งๆนี้สามารถทำให้สมองสามารถจินตนาการและมีความคิดที่สร้างสวรรค์ได้

3. จิบน้ำบ่อยๆ 

เป็นที่รู้กันดีว่าน้ำเป็นส่วนประกอบที่ร่างกายขาดไม่ได้ ดังนั้นการจิบน้ำบ่อยๆนั้น เป็นหนึ่งในวิธีในการดูแลร่างกายและสมองได้ดี และเมื่อเราจิบน้ำบ่อยๆ เราจะรู้สึกได้ว่าร่างกายจะสดชื่นและสมองปลอดโปร่ง

4. รู้จักยับยั้งกับนัฟซู (กิเลสตัณหา)

การรู้จักยับยั้งกับนัฟซู (กิเลสตัณหา) ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องใดก็ตาม เพราะเมื่อใดที่รู้จักหักห้ามใจได้ เราก็จะเป็นคนที่ดี สมองก็ดีตาม เช่น 

ให้ยับยั้งตัวเองจากคำพูดที่ไม่ดี เนื่องจากเมื่อทำอะไรตามใจคำพูดโดยไม่ได้มีการยับยั้งหรือไตร่ตรองก่อนพูดนั้นอาจจะทำให้ลำบากในอนาคตได้

ให้ยับยั้งตัวเองในเรื่องของอาหารการกิน ให้เลือกทานอาหารที่มีประโยชน์ต่อสมองแทน เพราะหากเราเลือกทานอาหารที่ไม่คุณค่าทางอาหารแล้ว อาจจะทำให้สมองทำงานช้าลงได้ การทานอาหารมื้อหนักในรอบดึก จะทำให้สมองมีความเอ่ยช้า ง่วงซึมได้ ทางที่ดีจึงควรรู้จักยับยั้งและควบคุมให้แต่ความพอดี

5. พักผ่อนให้เพียงพอ

ร่างกายมนุษย์ไม่สามารถทำงานได้ตลอด 24 ชั่วโมง ฉะนั้นหากต้องการดูแลสมองให้ดีก็ต้องมีการผ่อนคลายและพักผ่อนให้เพียงพอ 

6. กำจัดความคิดในแง่ลบออกไป

การดูแลสมองให้ดีอีกหนึ่งวิธีที่สามารถสร้างกันได้ง่ายๆนั่นคือ การคิดในแง่บวก และกำจัดความคิดในแง่ลบออไป บางครั้งเมื่อเจอสถานการณ์ที่ไม่คาดคิด มนุษย์เราก็ต้องมีความคิดในแง่ลบเป็นเรื่องธรรมดา อย่างไรก็ตาม หากฉุดคิดในแง่ลบขึ้นมา ให้เรารีบสลัดทิ้งความคิดเหล่านั้น และกำจัดให้เร็วที่สุด เพราะมันสามารถทำร้ายความคิดที่ดีได้ ดังนั้นแนะนำให้มองในฮิกมะฮฺ (สิ่งที่ดี) ที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทรงสร้างไว้แทนจะดีกว่ามาก

7. หัวเราะและยิ้มบ่อยๆ

การหัวเราะและการยิ้มเป็นอีกนึ่งวิธีที่สามารถดูแลสมองได้ดี เพราะการหัวเราะในปริมาณที่พอดี และการยิ้มบ่อยๆนั้น สามารถทำให้จิตใจของคนเรามีความสุขได้ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของสาเหตุที่สามารถส๋งผลดีต่อสมองได้เป็นอย่างดี สำหรับอิสลามแล้ว การยิ้มก็ยังถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของการซอดาเกาะฮฺ (บริจาค) อีกเช่นกัน

8. ให้อภัยตัวเองในข้อผิดพลาด

การรู้จักให้อภัยตัวเองในข้อที่ผิดพลาดในอดีตเป็นสิ่งที่ดี และถือว่าเป็นการดูแลสมองได้เป็นอย่างดี เพราะการที่เรารู้จักแก้ไขในข้อบกพร้องของตัวเอง จึงทำให้เรารู้จักที่จะพัฒนาให้ดีกว่าเดิม และที่สำคัญจะไม่กลับทำซ้ำในรูปแบบเดิมที่เป็นบทเรียนอย่างแน่นอน ที่สำคัญการให้อภัยตัวเองที่ดีที่สุดคือ การเตาบัต (ขออภัยโทษ) ต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) และแก้ไขให้ออกมาในรูปแบบใหม่และถูกต้องตามแนวทางซารีอะห์ (ตามแนวทางของอัลลอฮฺ ซ.บ.)ดีที่สุด

พี่น้องมุสลิมทั้งหลาย หากท่านคิดว่า 8 เคล็ดลับที่กล่าวมาข้างต้นสามารถเป็นประโยชน์ต่อตัวท่านและคนรอบข้าง ก็อย่าลืมส่งต่อให้เพื่อนหรือคนที่คุณรักได้นำเคล็ดลับดีๆ ในการดูแลสมองสำหรับมุสลิม ไปใช้ด้วยนะคะ อินชาอัลลอฮฺ ด้วยความอนุมัติของพระองค์

วัลลอฮูอะอฺลัม

เรียบเรียงโดย Fateemoh : Beritamuslimmag.com

ขอขอบคุณภาพประกอบโดย  bersamadakwah.netdoa-jika-gelisah-di-waktu-malam

บทความล่าสุด

4 สาเหตุก่อมะเร็งใน “ออฟฟิศ”

วัยทำงานที่ต้องใช้ชีวิตในออฟฟิศอย่างน้อย 7-8 ชั่วโมง / วัน ติดต่อกันยาวนานหลายป...

2019-07-03 03:46
5 พฤติกรรมที่ส่งผลเสียต่อสุขภาพตา

ยุคปัจจุบันปัจจัยภายนอกต่างๆส่งผลเสียต่อสุขภาพสายตานั้นมีมากมาย ซึ่งบางพฤติกรรม...

2019-07-02 03:00
กาย-ใจดี เมื่อมีอัลลอฮฺ(ซ.บ.)เคียงข้าง

หลายๆคนอาจประสบปัญหากับการมีสุขภาพจิตที่ไม่ดี หรือสภาพจิตใจที่ย่ำแย่อันเนื่องมา...

2019-03-04 08:18
นั่งนานๆ เสี่ยงเป็นโรคร้าย

ทราบหรือไม่ว่า!!!คนที่นั่งทำงานเป็นระยะเวลานานๆ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรค NCDs ห...

2019-03-04 06:43